CPU คืออะไร

cpu





CPU คืออะไร และมีหน้าที่ทำอะไรในคอมพิวเตอร์


cpu-int-6400
CPU หรือที่เรียกกันว่า Central Processing Unit หลายๆคนคงรู้จักกันอยู่แล้วว่าซีพียูมีหน้าที่ทำอะไรในคอมพิวเตอร์ของเรา ซึ่งคอมพิวเตอร์ของเรานั้นจะขาดซีพียูไม่ได้เลย เพราะซีพียูก็เป็นเหมือนสมองของคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งการทำงานในระบบต่างๆ และตรวจสอบระบบว่าทำงานผิดปกติหรือเปล่า ถ้าให้เปรียบเทียบก็คงจะเป็นร่างกายของมนุษย์ ที่มีสมองในการสั่งการร่างกายของเรา ในวันนี้ เราจะมาเจาะลึกถึง CPU กัน
level_3_hardware_komponenten_cpu_1151
ค่ายต่างๆและประวัติของซีพียู
มีหลากหลายค่ายที่เป็นผู้ผลิตซีพียู แต่ก็จะมีสองค่ายใหญ่ๆที่คอยแข่งขันในด้านการพัฒนาซีพียูมาโดยตลอด นั้นก็คือ Intel และ Amd. รุ่นซีพียูที่ทำให้ Intel สร้างชื่อเป็นอย่างมากก็คือ Coleron Pentium II และ Celeron Pentium III และต่อก็จากนั้นทาง Intel ก็ไม่ได้หยุดพัฒนามาแต่อย่างได้ จนตอนนี้สามารถให้ซีพียูทำความเร็วสูงมากๆนั้นเอง
ประโยชน์ของซีพียู
การควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้มีการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ ด้วยการคิดคำนวณและประมวลผลคำสั่งต่างๆ ซึ่งจะได้รับมาจากหน่วยความจำหลัก ถ้าไม่มีซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้เลย
CPU มีหน้าที่อะไรบ้างในระบบคอมพิวเตอร์Intel-Core-CPU-Processor
  1. เริ่มจากการได้คำสั่งจากอุปกรณ์นำข้อมูล (input) ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ คำสั่งต่างๆจะถูกส่งมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก หรือที่เรียกกันว่าแรม (RAM) แรมนั้นจะคอยเรียงคำสั่งตามลำดับที่สั่งเข้ามา และตามระดับความสำคัญ โดยแรมจะมีหน้าที่ป้อนสำสั่งต่างๆ ทีละคำสั่งให้กับ CPU
  2. เมื่อซีพียูได้รับคำสั่งจากแรมแล้ว ก็จะทำการประมวลผลทีละคำสั่งที่เข้ามา เมื่อประมาลผลเสร็จ ก็จะส่งผลล้พธ์กลับไปที่แรมอีกครั้ง
  3. แรม (RAM) จะรับผลลัพธ์จากการประมวลผลของซีพียูในรูปแบบคำสั่ง จากนั้น แรมก็จะส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ในคำสั่ง หลังจากที่คำสั่งถูกทำจนเสร็จสิ้น แรมก็จะส่งข้อมูลกลับไปที่ซีพียูเพื่อแจ้งว่าคำสั่งนั้นๆได้ทำหน้าที่เรียบร้อย
การทำงานต่างๆของซีพียูเรียกได้ว่าค่อนข้างครบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนความเร็วในการประมวณผลแต่ละครั้งนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถของซีพียูนั้นๆ ที่มีการสร้างและบอกมานั้นเอง
Central Processing Unit (CPU) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบด้วยสารซิลิกอน ที่เป็นสารกึ่งตัวนำทางอิเล็กทรอนิกส์ และผสมกับสารบางอย่างเพื่อที่จะเหนี่ยวนำไฟฟ้าได้ โดยเจ้าสารซิลิกอนที่ได้ผสมกับสารบางชนิดแล้ว เราจะเรียกกันว่า ทรานซิสเตอร์ ภายในซีพียูนั้นจะประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์มากกว่าสิบล้านตัวเลยทีเดียว ทรานซิสเตอร์เหล่านี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในคอมพิวเตอร์ของเรา ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ หรือวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งทำให้การทำงานของซีพียูมีความร้อนสูงมาก จึงจำเป็นที่จะต้องติดซิงค์และพัดลมเพื่อที่จะระบายความร้อนให้ดียิ่งขึ้น เพราะถ้าหากซีพียูของเราได้เกิดความร้อนนานๆเข้า อาจจะทำให้ซีพียูของเราพังได้ในที่สุด (ต้องซื้อใหม่กันเลยทีเดียว)


เช่น 
      CPU Intel Core i7 - 6950X (Box No Fan Ingram/Synnex)


  • Brand - Intel
  • Processors number - i7 - 6950X
  • CPU Socket Type - FCLGA2011-3
  • # of Cores - 10
  • # of Threads - 20
  • Operating Frequency - 3 GHz up to 4 GHz
  • Intel? Smart Cache - 25 MB
  • Turbo Boost Technology - Yes
  • Hyper-Threading Support - Yes
  • Virtualization Technology Support (VT-x) - Yes
  • Virtualization Technology Support (VT-d) - Yes
  • Trusted Execution Technology - Yes
  • 64 bit Support - Yes
  • Price - 63,800 baht

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น